กาหลอ
การคว่ำฆ้องเป็นอันเสร็จศิลปะการแสดง และดนตรี
๑. ดนตรี ประกอบด้วย
๑.๑ เครื่องดนตรี
วงกาหลอประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๓ อย่าง คือ ปี่ กลองทน และฆ้อง
ปี่กาหลอ เรียกว่า ปี่ห้อ หรือ ปี่ฮ้อ ถือเป็นดนตรีครู ใช้สําหรับเป่าเลียนเสียงพูดให้เข้ากับ
จังหวะและทํานอง ปี่ชนิดนี้ทําด้วยไม้มี ๗ รู รูข้างใต้เรียกว่า “ ทองรี ” เวลานําศพไม่ให้มีเสียงลอดออกมา
ส่วนปากหรือลิ้นทําด้วยโลหะ บางวงอาจใช้ปี่ถึง ๓ เลา
กลองทน หรือ กลองแขก หรือ กลองโทน เป็นกลอง ๒ หน้า มี ๑ คู่ เรียกว่า “ หน่วยลูก ”
กับ “ หน่วยแม่ ” ใบหนึ่งใหญ่มีเสียงทุ้ม คือ หน่วยแม่ เป็นทนยืน ใช้ตีเป็นตัวยืนให้การบรรเลง อีกใบหนึ่ง
เล็กเสียงแหลมสูง คือ หน่วยลูก เป็นทนประกอบที่คอยตีขัด ตีหยอก เพื่อเพิ่มความสนุกยิ่งขึ้น การตี
กลองทนแต่ละเพลงจะตีด้วยจังหวะที่แตกต่างกัน โดยใช้มือตีบ้าง ใช้ไม้ตีบ้าง ไม้ที่ตีทําเป็นรูปโค้งคล้ายเขา
ควาย แต่มีขนาดเล็กประมาณเท่านิ้วมือ
ฆ้อง ใช้ตีเน้นจังหวะ แต่เดิมใช้ ๒ ใบ และมีขนาดใหญ่มาก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ ศอก
ระยะหลังใช้ใบเดียวเป็นฆ้องขนาดกลางเสียงทุ้ม กังวานดังได้ยินไปไกล
๑.๒ วงดนตรี
กาหลอวงหนึ่งหรือคณะหนึ่งใช้ผู้ประโคม ๔ คน คือ หัวหน้าวง เป็นผู้เป่าปี่ เรียกว่า นายโรง หรือ นายปี่ ลูกวงอีก ๓ คน ทําหน้าที่ตีกลองทน ๒ คน เรียกว่า นายทน และตีฆ้อง ๑ คน เรียกว่า นายฆ้อง บางวงอาจมีคนเป่าปี่เพิ่มขึ้นอีก ๒ คนก็ได้ ในวงดนตรีกาหลอ คนเล่นปี่ หรือที่เรียกกันว่า “หมอปี่” จะเป็นผู้นําทํานอง ทนตีตามจังหวะเพลงปี่ และฆ้องตีตามจังหวะเป็นทน ถ้าเครื่องดนตรีสามสิ่งนี้ไล่ล้อสอดประสานกันอย่างเข้าท่วงทํานอง เพลงกาหลอจะไพเราะเพราะพริ้งมาก
๑.๓ เพลง บทร้อง และนักดนตรี
เพลงกาหลอที่ใช้บรรเลงในแต่ละวงนั้นไม่เท่ากันมีจํานวนอยู่ระหว่าง ๗ - ๑๒ เพลง ส่วนมากจะ
มี ๑๒ เพลง แต่เพลงเหล่านี้ มีชื่อและความหมายที่คล้ายกันมาก เช่น ชื่อเพลงที่วงกาหลอ เล่น ๗
เพลง ได้แก่ เหยี่ยวเล่นลม ทองท่อม ยั่วยาน สุริยน ทองศรี พลายแก้วพลายทอง พระพาย กาหลอ
บางวงมีเพลงที่ใช้บรรเลง ๑๒ เพลง ได้แก่ สร้อยทอง จุดไต้ สุริยัน คุมพล ทองศรี แสงทอง นกเปล้า
ทองท่อม ตั้งซาก(ศพ) ยายแก่ โก้ลม และเพลงสร้อย และบางวงมีถึง 22 เพลง ซึ่งจะมีชื่อเพลงซ้ํากับวง
๗ เพลง และ ๑๒ เพลงอยู่บ้าง
เพลงที่ใช้ในงานศพมี ๒ ประเภท
๑. เพลงคาถา เช่น เพลงไหว้พระ ลาพระ พ่อบัต ขันเพชร ไม้พัน สุริยน เมไร เรื่อยาน เหยี่ยว
เล่นลม
๒. เพลงโทน ได้แก่ ทองศรี นกกรง นกเปล้า พลายแก้วพลายทอง ทองท่อม แสงทอง ขอไฟ
จุดไต้ตามเทียน พระพาย นกกระจอกเต้น กระต่ายติดแร้ว พี่ทิศโสธร สร้อยทอง มอญโลมโลก เกี่ยวกับ
ชื่อเพลงกาหลอนี้ มีข้อสังเกตอยู่ประการหนึ่ง คือ แม้ว่าชื่อเพลงบางเพลงจะเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นกา
หลอต่างวง หรืออยู่ต่างถิ่นกันเนื้อร้องของบทเพลงนั้น ๆ ก็อาจผิดเพี้ยนไปบ้าง ส่วนความหมายหรือเนื้อ
ร้องส่วนใหญ่มีเนื้อความเหมือนกัน เช่น เพลงทองศรี มีเนื้อว่า “โอ้ทองศรีพี่ทองศรีเหอ ตอนค่ําเจ้านอนด้วยใคร เจ้าสุดสายใจ เจ้าคงนอนคนเดียวหลับได้ เจ้าสุดใจเหอ เจ้านอนหลับดี เจ้าทองสุกปลุกเจ้าทองศรี ลุกสักทีเจ้าทองศรี พี่ทองศรีเหอ” ความหมายของเพลงนี้ว่า คนตายนั่นเราปลุกด้วยเสียงปี่ เสียทน เสียงฆ้อง ปลุกสักเท่าใดก็ไม่ลุก ยังคงนอนนิ่งเฉยอยู่ในโลงศพนั่นแหละ
เพลงพลายแก้ว มีเนื้อว่า “เจ้าทิ้งแม่ไปแล้ว ลูกพลายแก้ว พลายแก้วของแม่เหอ ตกน้ําแม่ได้ตามไปงม เจ้าพลายแก้วตกตม แม่ได้ตามไปหา เจ้าไปเมือง เจ้าไม่รู้มา อนิจจาพลายแก้ว พลายแก้วของแม่
เหอ” ความหมายของเพลงพลายแก้ว กล่าวว่า คนที่ตายไปนั้น ถ้าตกน้ําก็ยังไปงมเอามาได้ ถ้าตกในตมก็ยังไปหาเอาได้ แต่คนที่ตายไป จะไปเอามาจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว
เพลงพี่ทิศโสธร มีความหมายว่า “คนที่เป็นคู่ผัวตัวเมียกัน พากันไปอยู่ที่ขนําไร่ ในที่เปลี่ยว บังเอิญ
มีเหตุต้องตายไปเสียคนหนึ่ง คนที่เหลืออยู่ก็จะต้องบ่นหา เพลงนกกระจอกเต้น มีเนื้อร้องว่า “นกกระจอกเหอ นางนกกระจอกเต้น พาลูกคาบรวงข้าวเล่น เที่ยวเต้นกลางนา กลางนาไหน กลางนาใคร กลางนาสยามเหอ ความหมายของเพลงนี้กล่าวว่า เมื่อก่อนนั้นผู้ตายเคยพาลูกไปเที่ยวเล่นในนา ทํางานด้วยกัน ไปเที่ยวไปไหนด้วยกัน แต่มาบัดนี้ไม่มีโอกาสอีกแล้ว นอนตายนิ่งอยู่ในโลง
กล่าวกันว่า เมื่อเพลงปี่กาหลอขับขานขึ้น ผีสางดวงวิญญาณจากทั่วสารทิศจะเร่กันเข้ามาฟัง เสร็จ
แล้วหมอปี่ก็จะใช้บทเพลงขับกล่อม แผ่เมตตา และว่าคาถาส่งไปในเพลงปี่ ให้วิญญาณเหล่านั้นไปสู่ที่ชอบ วงกาหลอใช้บรรเลงดนตรีล้วน ๆ ไม่มีการขับร้อง แม้ว่าบทเพลงที่บรรเลงจะมีเนื้อร้องก็ตาม ปี่กา
หลอ หรือปี่ฮ้อ จะทําหน้าที่แทนคนขับร้องอธิบายให้เข้าใจภาษาและความหมายของเนื้อเพลงไปด้วย
ลีลาของเสียงและจังหวะเพลงใดที่เป็นคําร้อง หรือ คาถาก็สามารถแสดงออกได้ด้วยเสียงปี่ สร้าง
บรรยากาศให้เกิดอารมณ์ลึกซึ้ง สังเวช วังเวง สลดหดหู่ และ เนื้อเพลงของกาหลอ ส่วนใหญ่จะมี
ข้อความเป็นทํานองให้เศร้าสลดใจ
๒. การแสดง ประกอบด้วย
๒.๑ ชุดการแสดง
งานที่นํากาหลอไปบรรเลง มี ๓ ประการ คือ งานศพ งานบวชนาคของผู้สูงอายุที่ตั้งใจบวช
แล้วไม่สึก และงานขึ้นเบญจา รดน้ําคนเฒ่าคนแก่ แต่นิยมนําไปเล่นในงานศพมากกว่างานอื่น ๆ ผู้ที่ไป
ติดต่อวงกาหลอจะต้องนําหมากไปหนึ่งคําด้วย เพื่อคณะกาหลอจะได้บูชาครู และบอกกล่าวให้ครูกาหลอทราบ ถ้าไม่นําหมากไป กาหลอมักจะไม่รับงาน เพราะถือว่าไม่ถูกต้อง เมื่อรับแล้วกาหลอจะนัดวันกับผู้ไปติดต่อและเอาหมากหนึ่งคํา วางบนหิ้งเพื่อบูชาครูและบอกกล่าวงานที่ต้องไปเล่น
หากวงกาหลอรับงานเฉพาะในวันเผาศพเรียกว่า “ นํา ” คือไปบรรเลงแห่นําศพจากบ้านไปเผาที่
วัด พิธีการและธรรมเนียมต่าง ๆ มีน้อย ไม่ต้องปลูกโรงพิธี แต่ถ้ากาหลอไปบรรเลงที่บ้านจัดงานศพ
จนกว่าจะถึงวันเผาเจ้าภาพจะต้องปลูกโรงพิธีเตรียมเครื่องสังเวยครูหมอ ส่วนราคาค่ารับงานของกาหลอเรียกว่า “ ค่าเปิดปากปี่ ” หรือ “ ค่าราดทําขวัญข้าว ” หรือ “ ค่าราดโรง ” นั้น แต่เดิมจะคิดตามราคา
ของโลงศพ ถ้าเจ้าภาพฐานะดีทําโลงศพราคาแพงค่าราดโรงกาหลอก็แพงตาม ทั้งนี้จะมีกรรมการช่วย
ประเมินราคา แต่ในปัจจุบันแล้วแต่จะตกลงกัน ขึ้นอยู่กับจํานวนวันที่ไปบรรเลง รวมทั้งระยะทางใกล้ไกล
และยังต้องให้ค่ายกครูอีก ๙ บาท ลักษณะโรงและเครื่องประกอบในพิธี เจ้าภาพต้องสร้างโรงพิธีให้วงกาหลอเรียกว่า “ โรงฆ้อง ” ในเขตบ้านหรือนอกบ้านก็ได้ แต่ต้องใกล้ที่ตั้งศพ ขนาดโรงกว้าง ๕ ศอก ยาว ๖ ศอก ส่วนยาวของโรงฆ้องต้องปลูกตามตะวัน จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกเสมอมีเสาจํานวน ๖ เสา เสาตั้งตรงกลาง ๒ เสา ไม่ใช้ขื่อ เพราะพวกกาหลอถือเคล็ดลาง ไม่ลอดขื่อ พื้นโรงมีประตูเข้าออกทางเดียว ทิศเหนือหรือใต้ก็ได้หน้าโรงหันไปทางทิศตะวันตก หลังคาทําเป็นหน้าจั่ว สมัยก่อนมุงด้วยกระแชงหรือใบเตยเย็บติดกันเป็นแผ่น ปัจจุบันมุงจาก แต่ยังมีเคล็ดว่า ให้ใช้กระแชงขนาดเท่าฝ่ามือคลุมข้างบนแปทูด้วย เครื่องประกอบพิธีที่เจ้าภาพต้องเตรียมให้นายโรงกาหลอทําพิธีมี “ ที่สิบสอง ” และ “ เครื่องราด ” “ ที่สิบสอง ” หรือ “ ข้าวสิบสอง ” คือ อาหารหวานคาวและผลไม้ ๑๒ อย่างไม่ซ้ํากัน สําหรับบูชาครู ๑ สํารับ มียําหยวก ยําหัวปลี ข้าวแกง เหล้า น้ํา ขนม ข้าวเหนียว ผลไม้และอื่น ๆ จนครบ ๑๒ อย่าง ที่สิบสองนี้ต้องจัด ๒ ครั้ง ตอนเบิกโรงเมื่อวงกาหลอมาถึงโรงฆ้องต้องทําพิธีไหว้ครหมอ และอีกครั้งหนึ่ง คือ ตอนลาโรง เมื่อวงกาหลอออกจากโรงฆ้องเตรียมไปแห่ศพ ต้องบูชาครูอีกครั้งหนึ่ง “ เครื่องราด ” มีเงิน ๑๒ บาท หมาก ๙ คํา ด้ายดิบ ๑ ไจ ข้าวสารและเทียน ๑ เล่ม ของ
เหล่านี้ใส่รวมกันใน “ สอบหมาก ” ซึ่งเป็นภาชนะทําด้วยกระจูดเรียกว่า “ สอบราด ” รูปทรงคล้าย
กระสอบขนาดเล็ก สอบราดนี้ต้องปลิ้นปาก ออกนอก นอกจากนี้เจ้าภาพยังต้องเตรียมผ้าขาวสําหรับขึงเพดาน ๑ ผืน หมอน ๑ ใบ ผ้าขาวปูที่ครู สําหรับวางข้าวสิบสอง หมาก ๙ คํา สําหรับใส่เพดาน ดอกไม้ ดอก และยังมีแป้ง น้ําหอม น้ํามัน สําหรับครูหมอแต่งตัวเมื่อกินเครื่องเซ่นเสร็จแล้ว
ขนบนิยม ( ธรรมเนียมนิยม ) ในการบรรเลงเพลงกาหลอ วงกาหลอแต่ละวงใช้ดนตรีบรรเลงหมุนเวียนกันไปจนครบเพลงที่มีคือ ๗ เพลงบ้าง ๑๒ เพลงบ้าง
๒๒ เพลงบ้างดังกล่าวข้างต้น เพลงที่บรรเลงต้องให้เหมาะสมกับบรรยากาศด้วย เช่น ตอนย่ําค่ําใช้เพลง
ทองศรี ตอนดึกใช้เพลงนกพิทิด ตอนย่ํารุ่งใช้เพลงทองศรี ตอนเช้าตรู่น้ําค้างยังไม่แห้งใช้เพลงนกกระจอก
เต้น พอดวงอาทิตย์ขึ้นใช้เพลงแสงเงินแสงทอง ต่อจากนั้น ตอนเช้าใช้เพลงนกเปล้ากินไทร เป็นต้น
ส่วนบทเพลงที่ใช้บรรเลงตอนนําศพออกจากบ้านจนกระทั่งเผาศพมีดังนี้
๑. ตอนยกศพจากเรือนออกนอกบ้าน บรรเลงเพลง “ เหยี่ยวเล่นลม ”
๒. ตอนนําศพ บรรเลงเพลง “ ทอมท่อม ” ตอนนําศพนี้ มีข้อกําหนดว่า กาหลอจะต้องอยู่ใกล้กับ
ศพเสมอ แม้จะมีวงดนตรีแห่นําหลายอย่างก็ตาม
๓. ตอนเข้าแดนป่าช้า บรรเลงเพลง “ ยั่วยาน ”
๔. ตอนถึงเมรุ เมื่อเคลื่อนศพขึ้นตั้งบนเมรุ บรรเลงเพลง “ สุริยน ”
๕. ตอนตั้งศพ ขณะที่สับปะเหร่อจัดเตรียมไฟและพิธีเกี่ยวกับคนตาย บรรเลงเพลง “ ทองศรี ”
๖. ตอนประชุมเพลิง บรรเลงเพลง “ พระพาย ” ตอนนี้กาหลอบางวงบรรเลงเพลง “ ยายแก่ ”
เพลง “ โก้ลม ” ( กู่ลม ) และ เพลง “ สร้อยทองซัดผ้า ” ( ขว้าง,ปาผ้า ) เพลงยายแก่ เป็นเพลงที่มี
ทํานองคล้ายขอไฟไปจากยายแก่เพื่อเอามาเผาศพ เพลงโก้ลมหรือเรียกลม เพื่อให้มาช่วยพัดกระพือให้ไฟติด จะได้เผาศพดีขึ้น เพลงสร้อยทองซัดผ้า เพลงนี้บรรเลงพร้อมกับขว้างผ้าคลุมโลงข้ามศพไปมา เสร็จแล้วจุดไฟเผาพร้อมกับเพลงจบ เมื่อจบเพลงพระพาย หรือ เพลงสร้อยทองซัดผ้าแล้ว ถ้าเป็นสมัยก่อน จะบรรเลงเพลงต่อไปจนจบครบ ๑๒ เพลง ถือว่าหมดหน้าที่ของกาหลอ แต่ปัจจุบันเมื่อจบเพลงดังกล่าว วงกาหลอจะเลิกกลับบ้านเลยก็ได้ หรือบางวงอาจจะบรรเลงเพลงนกเปล้าอีกครั้ง เสร็จแล้วนายโรงก็จะทํากิจพิธี